แนวทางการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอและแฟชั่น
วันที่รับบทความ : 18/06/63 วิโรจน์ ยิ้มขลิบ[1]
วันที่แก้ไขบทความ
: 06/01/64 จรัสพิมพ์ วังเย็น[2]
วันที่ตอบรับบทความ : 09/06/64 ไพรัตน์ ปุญญาเจริญนนท์[3]
ทวีศักดิ์ สาสงเคราะห์[4]
ฉันทนา ธนาพิธานนท์[5]
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวโน้มความต้องการในการพัฒนาศักยภาพและการพัฒนาอาชีพด้านสิ่งทอและแฟชั่น 2) เพื่อการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นด้านสิ่งทอและแฟชั่นให้มีความเหมาะสมกับความต้องการของผู้ประกอบการและบุคลากรด้านสิ่งทอ และ 3) เพื่อเป็นแนวทางในการจัดหลักสูตรระยะสั้นด้านสิ่งทอและแฟชั่นให้มีประสิทธิภาพและสามารถสร้างรายได้ และเป็นการวิเคราะห์พัฒนาหลักสูตรระยะสั้นด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอและแฟชั่นจากผู้ประกอบการและบุคลากร โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือศึกษาความต้องการในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอและแฟชั่น ความต้องการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านสิ่งทอและแฟชั่น รวมถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการหลักสูตรระยะสั้นด้านสิ่งทอ ผลการวิจัย ด้านบทบาทหน้าที่ผู้ประกอบการต้องการพัฒนาความสามารถการใช้ภาษา ความรู้ตามสายงาน ความรู้ด้านอุตสาหกรรมต้นน้ำ คือ กลุ่มเส้นใยธรรมชาติ และเส้นใยประดิษฐ์ โดยแตกต่างกับบุคลากรที่มีความต้องการพัฒนาความรู้ความสามารถทางด้านอุตสาหกรรมปลายน้ำ คือ เครื่องนุ่งห่ม เครื่องประกอบการต่างกายและเคหะสิ่งทอ ด้านหลักสูตรวิชาชีพของอุตสาหกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ผู้ประกอบการต้องการพัฒนาสมบัติพิเศษของเส้นใยสอดคล้องกับบุคลากรอีกทั้งยังมีความต้องการฝึกอบรมด้านนวัตกรรมการย้อมสีธรรมชาติ สำหรับการฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพด้านสิ่งทอและแฟชั่นมีความแตกต่างกัน ผู้ประกอบการต้องการฝึกอบรมด้านการจัดการสินค้าแฟชั่น โดยที่กลุ่มบุคลากรต้องการด้านการฝึกอบรมมัดย้อมและเทคนิคการย้อมสี ด้านปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้