สถานการณ์วิกฤติทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และภัยพิบัติที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยมีบทบาทอะไรบ้างเมื่อมหาวิทยาลัยเป็นแหล่งรวมศาสตร์
วิทยาการ มีผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา มีเครื่องมืออุปกรณ์ การเรียน การสอน การวิจัย
เพื่อสร้างคนมีคุณภาพและมีความสามารถ ออกมาทำงานเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และทุกๆด้านให้มีความเจริญก้าวหน้า
ตามความคาดหวังการก่อตั้งมหาวิทยาลัย จากวิกฤติเศรษฐกิจที่ผ่านมาทั่วโลก นักวิชาการทั่วโลกหันมาทบทวนบทบาทอุดมศึกษา
รัฐบาลในประเทศต่างๆ ก็คาดหวังว่าอุดมศึกษามีบทบาทพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แต่โดยทั่วไปมหาวิทยาลัยมักมุ่งเน้นสร้างผลงานทางวิชาการที่เป็นความเชี่ยวชาญเฉพาะศาสตร์
สาขาเพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการ ด้วยการทำผลงานตีพิมพ์สู่สากล ทำให้สังคม ชุมชน ท้องถิ่นและประชาชนได้รับประโยชน์จากมหาวิทยาลัยน้อยมาก
เนื่องจากความรู้ ความเชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยมี “ช่องว่าง” หรือไม่สอดคล้องกับสถานการณ์
ความต้องการ ของสังคม ชุมชน ท้องถิ่นและประชาชนทั่วไป
สถานการณ์เช่นนี้ อุดมศึกษาจะปรับตัวอย่างไร เมื่อวันที่ ๑๒ – ๑๕ กันยายน ๒๕๕๓ OECD
(Organization for Economic Cooperation and Development) โดย
IMHE (Institute for Management of Higher Education) ได้จัดการประชุมเรื่อง
Higher Education in a World Changed Utterly : Do More For Less ที่กรุงปารีส
มีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ ๕๐๐ คน จากทั่วทุกทวีป ส่วนใหญ่มาจากทวีปยุโรป
ประเด็นหลักของการประชุมคือ อุดมศึกษาเป็นแหล่งพัฒนากำลังคน ที่มีความสามารถไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
ดังนั้นอุดมศึกษาจึงต้องมี Creativity and Innovation และอุดมศึกษาต้องเป็นผู้นำการพัฒนาเศรษฐกิจและการพัฒนาผู้ประกอบการด้วย เรื่องที่มีการพูดคุยกันมากคือ
อุดมศึกษาต้องรับใช้สังคมและชุมชน (social and community engagement) ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ ทำให้อุดมศึกษาต้องเป็นคลังสมองของสังคม ชุมชน ท้องถิ่น